อัปเดท ปลูกไม้ผล ภาษีที่ดิน 2567 เงื่อนไขและข้อกำหนดต่างๆ ในการปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น ใช้ประโยชน์ที่ดินในการทำเกษตร
ปลูกต้นอะไรที่จะเข้าข่ายใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม ปลูกไม้ผล ภาษีที่ดิน 2567 ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยเรื่องหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ได้กำหนดอัตราขั้นต่ำของจำนวนไม้ต้น ไม้ผล ต่อพื้นที่ปลูก 1 ไร่ จึงจะสามารถเรียกว่าใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมได้และจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในอัตรา 0.01% เท่านั้น (บุคคลธรรมดายกเว้นการเสียภาษีมูลค่าทรัพย์สิน 50 ล้านบาทแรก) ซึ่งได้มีการกำหนด อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (เพื่อการเกษตร) ไว้ใหม่คือ
- มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ไม่เกิน 50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.01% (บุคคลธรรมดายกเว้นเสียภาษีมูลค่า 50 ล้านบาทแรก)
- มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ไม่เกิน 75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.01%
- มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 75-100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03%
- มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 100-500 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05%
- มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 500-1000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.07%
- มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 1,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.10%
แต่หากปล่อยให้รกร้าง ไม่ได้ใช้ประโยชน์ใดๆ มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่เกิน 50 ล้านบาทจะต้องจ่ายภาษีในอัตรา 0.30% ซึ่งมากกว่าภาษีที่ดินเพื่อการเกษตรถึง 30 เท่า (ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจและกระทรวงการคลัง)
หลายคนจึงหันมาเปลี่ยนที่ดินเปล่า เพื่อใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ซึ่งที่ง่ายที่สุดและเห็นกันเกลื่อนตาคือการปลูกกล้วย ปลูกมะพร้าว ปลูกมะนาว แต่รู้หรือไม่ยังมีไม้ผลอีกหลายชนิดที่สามารถปลูกในที่ดินเพื่อประกอบการเกษตรได้
•อัปเดตอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
การใช้ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างตามความหมายของคำว่า “ประกอบการเกษตร” ในระเบียบคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนเกษตรกร พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการบริโภค จำหน่าย หรือใช้งานในฟาร์ม แต่ไม่รวมถึงการทำการประมงและการทอผ้า การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรยังหมายความรวมถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ต่อเนื่องที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมนั้นด้วย
การใช้ที่ดินประกอบเกษตรกรรมไม่ได้มีแค่การปลูกกล้วยอย่างที่เห็นกันทั่วๆ ไปเท่านั้น เพราะยังมีพืชที่กำหนดอีก 57 ชนิด ที่สามารถปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมได้ โดยในปี 2566 ได้มีการอัปเดทชนิดของพืชให้สอดคล้องกับการทำเกษตรในปัจจุบัน
ได้แก่ หม่อน องุ่น แก้วมังกร แอปเปิล อะโวคาโด อินทผลัม กำหนดให้มีอัตราขั้นต่ำ 35 ต้น/ไร่ ยูคาลิปตัส 35ต้น/ไร่ พืชกลุ่มให้เนื้อไม้ 3 ต้น/ไร่ หากพืชที่ปลูกไม่มีในรายชื่อที่กำหนดให้เทียบเคียงกับพืชที่มีลักษณะใกล้เคียงได้
ดาวน์โหลดคู่มือขึ้นทะเบียนเกษตรกร >> https://bit.ly/3P4RcXB
หลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม>>https://bit.ly/3784r8v
การปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น บนที่ดินทั้งเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นเกษตรกรและเพื่อแสดงความจำนงในการใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม มีการกำหนดอัตราการปลูกขั้นต่ำที่ระบุไว้อีกหลายชนิด อัตราสัดส่วนเท่าไหร่ ไปทำความรู้จักพร้อมๆ กัน
โกโก้ 150-170 ต้น/ไร่ ,บ๊วย 45 ต้น/ไร่ ,ปาล์มน้ำมัน 22 ต้น/ไร่ ,พุทรา 80 ต้น/ไร่ กาแฟ พันธุ์โรบัสต้า 170 ต้น/ไร่ ,พันธุ์อราบิก้า 533 ต้น/ไร่
มะม่วงหิมพานต์ 45 ต้น/ไร่,มะปราง 25 ต้น/ไร่ , มังคุด 16 ต้น/ไร่ ,ลิ้นจี่ 20 ต้น/ไร่ ,ลำไย 20 ต้น/ไร่
ส้มโอ 45 ต้น/ไร่ ,ส้มโอเกลี้ยง 45 ต้น/ไร่ ,ส้มตรา 45 ต้น/ไร่, ส้มเขียวหวาน 45 ต้น/ไร่ ,ส้มจุก 45 ต้น/ไร่
กานพลู 20 ต้น/ไร่ ,กระวาน 100 ต้น/ไร่ ,จำปาดะ 25 ต้น/ไร่ ,จันทร์เทศ 25 ต้น/ไร่ ,ท้อ 45 ต้น/ไร่
กระท้อนเปรี้ยว พันธุ์ทับทิม พันธุ์ปุยฝ้าย 25 ต้น/ไร่ ,แพสชั่นฟรุ๊ต 400 ต้น/ไร่ ,เงาะ 20 ต้น/ไร่ ,ชมพู่ 45 ต้น/ไร่ ,ทุเรียน 20 ต้น/ไร่
นุ่น 25 ต้น/ไร่ ,พลู 100 ต้น/ไร่ ,ยางพารา 80 ต้น/ไร่ ,สะตอ 25 ต้น/ไร่ ,หน่อไม้ไผ่ตง 25 ต้น/ไร่ ,หมาก (ยกร่อง) 100-170 ต้น/ไร่
กล้วย 200 ต้น/ไร่, ขนุน 25 ต้น/ไร่ ,ฝรั่ง 45 ต้น/ไร่ ,มะม่วง 20 ต้น/ไร่ ,มะพร้าว 20 ต้น/ไร่
มะละกอ (ยกร่อง) 100 ต้น/ไร่ (ไม่ยกร่อง) 175 ต้น/ไร่ ,มะนาว 50 ต้น/ไร่ ,พริกไทย 400 ต้น/ไร่ ,น้อยหน่า 170 ต้น/ไร่ ,มะขาม หวาน/เปรี้ยว 25 ต้น/ไร่
ละมุด 45 ต้น/ไร่ ,ลางสาด 45 ต้น/ไร่ ,สาลี่ 45 ต้น/ไร่ ,ลองกอง 45 ต้น/ไร่ ,