บ้านเย็น

รับร้อนอย่างไร…ให้ประหยัดพลังงาน

หน้าร้อนทีไร เป็นต้องมองหาวิธีรับมือกับความร้อน สำหรับร่างกาย เพียงเลือกใช้เสื้อผ้าที่โปร่งสบายเหมาะกับอากาศ แต่ถ้าเป็นความร้อนที่จู่โจมบ้านล่ะ จะจับบ้านแต่งตัวรับร้อนได้หรือไม่?

คล้ายๆ เครื่องแต่งกาย การเลือกวัสดุสร้างบ้าน ไม่เพียงสวยงาม แต่ต้องเหมาะสม คุ้มค่า และประหยัดค่าใช้จ่าย บ้านยิ่งร้อนยิ่งเปลืองพลังงานไฟฟ้าจากการเปิดแอร์ มีวัสดุใดบ้างที่จะช่วยให้บ้านคุณรับร้อนได้อย่างประหยัดพลังงานและเงินในกระเป๋า

กระเบื้องหลังคา

หลังคา เปรียบดังหมวกของบ้าน เป็นด่านแรกที่รับความร้อนโดยตรงจากแสงแดด และถ่ายเทเข้าสู่ตัวบ้าน แต่ก็เป็นจุดแรกที่จะปกป้องบ้านจากความร้อน โดยใช้ แผ่นสะท้อนความร้อน ติดตั้งใต้กระเบื้องมุงหลังคา เพื่อสกัดความร้อนและสะท้อนกลับออกไปตั้งแต่ด่านแรก และใช้ ฉนวนกันความร้อน ติดตั้งบนฝ้าเพดาน เพื่อดูดซับความร้อนไม่ให้เข้าสู่ตัวบ้านอีกชั้นหนึ่ง  นอกจากนี้การออกแบบรูปทรงหลังคาให้มีพื้นที่ว่างใต้หลังคามาก จะช่วยลดอุณหภูมิภายในบ้านได้ เพราะโดยธรรมชาติ

ฉนวนกันความร้อน

อากาศร้อนจะลอยตัวขึ้นสู่ด้านบน และอาจใช้ ฝ้าชายคาชนิดที่มีช่องระบายอากาศ เพื่อช่วยถ่ายเทความร้อนที่สะสมใต้โถงหลังคาร่วมด้วย หมวกของบ้านที่คุณเลือกก็จะสวย และช่วยให้บ้านเย็นได้ครบสูตร

พื้นบ้าน คือรองเท้าที่ต้องสวมสบาย ทั้งด้วยผิวสัมผัสและอุณหภูมิที่พอเหมาะ

สำหรับหน้าร้อนและอากาศบ้านเรา การปูพื้นชั้นล่างด้วยวัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้ หินอ่อน หินแกรนิต หรือวัสดุที่ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ เช่น กระเบื้องเซรามิค หินขัด (เทอร์ราซโซ)จะช่วยกักเก็บความเย็นจากพื้นดินได้เป็นอย่างดี ทำให้พื้นบ้านเย็นและรู้สึกสบายเท้า

ผนัง เปรียบดังเสื้อผ้าที่ห่อหุ้ม ปกคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของตัวบ้าน เป็นบริเวณที่สะสมความร้อนจากแสงแดดตลอดทั้งวัน จึงมีผลต่อความเย็นภายในบ้าน หากเป็นช่องแสง ควรเลือกใช้ กระจกชนิดตัดแสง ซึ่งช่วยลดปริมาณแสง และลดความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้ ส่วนบริเวณผนังทึบ อิฐมวลเบา เป็นวัสดุก่อผนังที่มีค่าการสะสมความร้อนต่ำ มีค่าต้านทานความร้อน ( R ) สูงสุด สามารถกันความร้อนได้ดี เหมาะสำหรับเป็นผนังบ้าน รวมถึงผนังภายใน ที่จะช่วยให้บ้านเย็นสบาย และประหยัดพลังงานไฟฟ้าจากการเปิดแอร์

Q Con

การเลือกอิฐมวลเบาสำหรับผนังซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของบ้าน หรือแม้แต่วัสดุอื่น ๆ ที่จะช่วยประหยัดพลังงานให้บ้าน ต้นทุนไม่แพงอย่างที่คิด เมื่อเทียบกับความคุ้มค่าในระยะยาว โดยมีเคล็ดลับง่าย ๆ คือ เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ จากผู้ผลิตที่น่าเชื่อถือ และผ่านการรับรองมาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับ สำหรับอิฐมวลเบาให้สังเกตที่ ฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูง จากกระทรวงพลังงาน และเพื่อความมั่นใจอีกขั้น ต้องเป็นอิฐมวลเบาที่ได้รับฉลากครบทุกชั้นคุณภาพ ทั้งชั้นคุณภาพ G2 ซึ่งเหมาะกับผนังอาคารที่กันความร้อน และชั้นคุณภาพ G4 ซึ่งเหมาะกับงานโครงสร้างที่ต้องการความแข็งแกร่งสูง

เมื่อสร้างบ้านด้วยวัสดุประหยัดพลังงานกันแล้ว นั่นคือความคุ้มค่าในระยะยาว เพราะบ้านของคุณจะรับมือกับความร้อนได้ตลอดไป ประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่ายได้ทุกฤดู